วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


บทที่  1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                ใบยางพาราที่หล่นกองอยู่ทั่วไปตามในสวนยางที่มีเป็นจำนวนมาก  เมื่ออยู่ไปนานๆเข้าก็จะแห้งไปโดยไร้ซึ่งประโยชน์  แต่ถ้ารู้จักนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ใบยางก็จะมีคุณค่ามากมาย  ช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร  เป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้านภายในชุมชนของตนเองและชุมชนรอบข้าง  เป็นอาชีพที่มีต้นทุนต่ำและสามารถประดิษฐ์ได้ง่ายถ้าเรารู้จักที่จะนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดความแปลกใหม่ก็จะทำให้สินค้าของเรามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น  ทำให้เกิดประโยชน์แก่คนเป็นจำนวนมาก

                คณะผู้จัดทำจึงคิดค้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากใบยางพาราขึ้น  เพื่อใช้ประโยชน์จากใบยางพาราให้ได้มากที่สุด  จึงได้จัดทำโครงงานที่มีชื่อว่า  ผลิตภัณฑ์จากใบยางพารา  ชิ้นนี้ขึ้น


วัตถุประสงค์

1.เพื่อต้องการสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรสวนยาง

2.เพื่อนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์

3.เพื่อต้องการนำใบยางที่ไม่มีราคามาประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


สมมุติฐานในการค้นคว้า

ถ้านำใบยางพารามาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์แล้วจะสามารถสร้างมูลค่าให้แก่ใบยางได้


ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น             ใบยางพารา

ตัวแปรตาม           ช่วยสร้างมูลค่าให้แก่ใบยางพาราและสามารถสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านได้

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1.ระยะเวลาในการศึกษา 

2.โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี  ตำบล มะขามเตี้ย  อำเภอ เมือง  จังหวัด สุราษฎร์ธานี  84000

3.บ้านของ  นางสาวสุณิสา   ราชจินดา

     เลขที่ 111  .1  ตำบล คลองสระ  อำเภอ กาญจนดิษฐ์  จังหวัด สุราษฎร์ธานี  84160

4.  บ้านของ  นางสาวสุทธิดาพร   เพชรขน

     เลขที่ 64  .5ตำบล มะขามเตี้ย  อำเภอ เมือง  จังหวัด สุราษฎร์ธานี  84000

5.  บ้านของ  นางสาวอัญธิดา   ปานทอง

     เลขที่ 56  .2  ตำบล ท่าเรือ  อำเภอ บ้านนาเดิม  จังหวัด สุราษฎร์ธานี  84240


                                                                         บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์  เรื่อง  ผลิตภัณฑ์จากใบยางพารา  คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

ยางพารา เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน ประเทศบราซิลและเปรู ทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่าต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในอังกฤษและเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่รัฐปารา (Pará) ของบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา



                              
      

               


การปลูกยางในประเทศไทย


การปลูกยางในประเทศไทยไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐานที่แน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น ได้นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา" และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรังและนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพาราไปทั่วทั้ง 14 จังหวัดในภาคใต้ และ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา ยางพาราก็กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของโลก

ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพารา สามารถทำรายได้การส่งออกเป็นอันดับสองของประเทศ ยางพาราจึงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย และมีการส่งออกยางธรรมชาติมาเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี พ.ศ. 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริงมีประมาณ 19 ล้านไร่เกษตรกร 1,200,000คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท

การกรีดยาง

การกรีดยางเพื่อให้สะดวกต่อการกรีด และยังคงรักษาความสะอาดของถ้วยรองรับน้ำยางนั้นควรคำนึงถึงระดับความเอียงของรอยกรีดและความคมของมีดที่ใช้กรีดซึ่งต้องคมอยู่เสมอ

·         เวลากรีดยาง : ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการกรีดยางมากที่สุดคือ ช่วง 6.00-8.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่สามารถมองเห็นต้นยางได้อย่างชัดเจนและได้ปริมาณน้ำยางใกล้เคียงกับการกรีดยางในตอนเช้ามืด แต่การกรีดยางในช่วงเวลา 1.00-4.00 น. จะให้ปริมาณยางมากกว่าการกรีดยางในตอนเช้าอยู่ร้อยละ 4-5 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้ปริมาณน้ำยางมากที่สุดด้วย แต่การกรีดยางในตอนเช้ามืดมีข้อเสีย คือ ง่ายต่อการกรีดบาดเยื่อเจริญส่งผลให้เกิดโรคหน้ายางทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองและไม่มีความปลอดภัยจากสัตว์ร้ายหรือโจรผู้ร้าย

·         การหยุดพักกรีด : ในฤดูแล้ง ใบไม้ผลัดใบหรือฤดูที่มีการผลิใบใหม่ จะหยุดพักการกรีดยางเนื่องจากมีผลต่อการเจริญเติบโตของใบและต้นยาง การกรีดยางในขณะที่ต้นยางเปียก จะทำให้เกิดโรคเส้นดำหรือเปลือกเน่าได้

·         การเพิ่มจำนวนกรีด : สามารถเพิ่มจำนวนวันกรีดได้โดย

o    การเพิ่มวันกรีด : สามารถกรีดในช่วงผลัดใบแต่จะได้น้ำยางในปริมาณน้อย ไม่ควรเร่งน้ำยางโดยใช้สารเคมีควรกรีดเท่าที่จำเป็นและในช่วงฤดูผลิใบต้องไม่มีการกรีดอีก

o    การกรีดยางชดเชย : วันกรีดที่เสียไปในฤดูฝนสามารถกรีดทดแทนได้แต่ไม่ควรเกินกว่า 2 วันในรอยกรีดแปลงเดิม และสามารถกรีดสายในช่วงเวลา 6.00-8.00 น. หากเกิดฝนตกทั้งคืน

o    การกรีดสาย : เมื่อต้นยางเปียกหรือเกิดฝนตกสามารถกรีดหลังเวลาปกติโดยการกรีดสายซึ่งจะกรีดในช่วงเช้าหรือเย็นแต่ในช่วงอากาศร้อนจัดไม่ควรทำการกรีด

โรคและแมลงศัตรูยางพารา

1. โรคใบร่วงและฝักเน่า : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการใบยางร่วงในขณะที่ใบยังสด

2. โรคราแป้ง : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการปลายใบอ่อนบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีดำและร่วง ใบแก่มีปุยสีขาวเทาใต้ใบ เป็นแผลสีเหลืองก่อนที่จะเป็นเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล

ขั้นตอนการฟอกสีใบยางพารา
1.การเก็บใบยางจากต้นจะเก็บใบยางสดที่สมบูรณ์จากต้น ยางซึ่งจะมีขนาดเฉลี่ยประมาณ 3-7นิ้วซึ่งมีขนาดเล็ก สามารถนำมาแปรรูปทำผลิตภัณฑ์ได้เฉพาะอย่างเท่านั้น แต่ถ้าต้องการขนาดใบยางหลากหลาย มีขนาดเล็กที่สุด 1-2นิ้วจนถึง 5-2นิ้วซึ่งเป็นขนาดใหญ่สุดสามารถนำมา แปรรูปจัดทำผลิตภัณฑ์ได้ทุกชนิด ควรใช้ใบยางสดจากแปลงขยายพันธุ์ยาง แต่ถ้าใช้ใบยางสดจากแปลงขยายพันธุ์ยางจำ เป็นต้องลงทุนสร้างแปลงขยายพันธุ์ยางและใช้เวลานานถึง 1 ปี

2. การต้มใบยางสดกับด่างชั่งใบยางสดที่ทำไว้ในขั้นตอนที่1จำนวน 2 กิโลกรัมต้มกับสบู่ซันไลท์(ด่าง)จำนวน  2  ก้อนและน้ำ  20  ลิตรใน ภาชนะต้มใช้เวลาต้ม  90-120  นาที จะทำให้เนื้อเยื่อใบยางเปื่อยยุ่ย

3.การขูดเนื้อเยื่อใบยางนำใบยางที่ต้มจนเปื่อยแล้วตามขั้นตอนที่  2  มาทำ การขูดเนื่อเยื่อใบยางออกให้หมดด้วยแปรงสีฟันจนเหลือแต่โครงใบ ล้างน้ำให้สะอาดนำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิทดีแล้วจะมีสีน้ำตาล ไม่เหมาะจะ นำไปประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆต้องนำไปฟอกสีก่อน

4.การฟอกสีโครงใบยางเพื่อทำให้โครงใบยางขาวสะอาด เมื่อนำไปย้อม สีจะได้สีสวยตามต้องการ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ในด้านคุณภาพ การฟอกสีโครงใบยางนี้แนะนำให้ใช้น้ำยาไฮเตอร์ ซึ่งอยู่ในรูปของสาร ละลายมีจำหน่ายทั่วไปและใช้ได้สะดวก วิธีที่ต้องนำมาทำให้เจือจางด้วย น้ำ โดยอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุดคือ น้ำยาไฮเตอร์  1 ส่วนน้ำ  6  ส่วน ใช้เวลาในการฟอกสีประมาณ  4  ชั่วโมง จะได้โครงใบยางที่ขาวสะอาด และไม่เสียหาย หลังจากนั้นนำโครงใบยางขึ้นล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งแดด จนแห้งสนิทเก็บรวบรวมพร้อมนำไปย้อมสีหรือสเปรย์สี เพื่อนำไป ประดิษฐ์ดอกไม้และผลิตภัณฑ์ต่างๆตามต้องการ สีสดใสและใกล้เคียงกับสีของดอกไม้ตามธรรมชาติ อีกทั้งสีของ ดอกไม้หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆจะมีความคงทนสามารถอยู่ในที่ร่มได้ นานถึง  3  ปี         

5.การประดิษฐ์ดอกไม้และผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆการประดิษฐ์ ดอกไม้จากโครงใบยางเป็นเทคนิคในการปฏิบัติที่ใช้ทั้งทักษะ และความสามารถเฉพาะบุคคลในการประดิษฐ์และประยุกต์รูปแบบให้เหมาะสมกับชนิดของโครงใบยาง ควรเลือกใช้ ขนาดของใบยางตามขนาดของดอกไม้และผลิตภัณฑ์ ใบยางที่มีอายุน้อยจะมีโครงใบอ่อนนุ่มกว่าโครงใบยางที่มีอายุ มาก จึงเหมาะสำหรับทำเป็นกลีบดอกไม้ ส่วนโครงใบยางที่มี อายุมากโครงใบจะหนาและแข็งกระด้างเหมาะสำหรับทำเป็นใบ ไม้และฐานรองดอก การใช้เทคนิคสเปรย์สีจะช่วยให้ดอกไม้มีสีสันสวยงาม

ลักษณะส่วนต่างๆ ของยางพารา  
ยางพาราเป็นพืชยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืนยาวหลายสิบปีเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้  
 

ราก - เป็นระบบรากแก้ว  
ลำต้น - กลมตรง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ  
1. เนื้อไม้ ยางพาราจัดเป็นไม้เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวปนเหลืองอยู่ด้านในกลางลำต้น  
2. เยื่อเจริญ เป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบเนื้อไม้มีหน้าที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นยาง  
3. เปลือกไม้ เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากเยื่อเจริญออกมาด้านนอกสุด ช่วยป้องกันอันตรายที่จะมากระทบต้นยาง เปลือกของต้นยางนี้มีความสำคัญต่อเกษตรกรชาวสวนยางมาก เนื่องจากท่อน้ำยางจะอยู่ในส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเปลือกด้านในที่ติดอยู่เยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางอยู่มากที่สุด 
ใบ - เป็นใบประกอบโดยทั่วไป 1 ก้านใบจะมีใบย่อย 3 ใบ มีหน้าที่หลักในการปรุงอาหารหายใจและคายน้ำ ใบยางจะแตกออกมาเป็นชั้น ๆ เรียกว่า "ฉัตร" ระยะเวลาเริ่มแตกฉัตรจนถึงใบในฉัตรนั้นแก่เต็มที่จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน ยางจะผลัดใบในฤดูแล้งของทุกปี ยกเว้นยางต้นเล็กที่ยังไม่แตกกิ่งก้านสาขาหรือมีอายุไม่ถึง 3 ปี จะไม่ผลัดใบ 
ดอก - มีลักษณะเป็นช่อมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกยางทำหน้าที่ผสมพันธุ์โดยการผสมแบบเปิด ดอกยางจะออกตามปลายกิ่งของยางหลังจากที่ต้นยางผลัดใบ 
ผล - มีลักษณะเป็นพูโดยปกติจะมี 3 พู ในแต่ละพูจะม่เมล็ดอยู่ภายใน ผลอ่อนมีสีเขียวผลแก่มีสีน้ำตาลและแข็ง  
 
เมล็ด - มีสีน้ำตาลลายขาวคล้ายสีของเมล็ดละหุ่ง ยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หนักประมาณ 3-6 กรัม เมล็ดยางเมื่อหล่นใหม่ๆจะมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงมาก แต่เปอร์เซ็นต์ ความงอกนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพปกติเมล็ดยางจะรักษาความ งอกไว้ได้ประมาณ 20 วันเท่านั้น  
 
น้ำยาง - เป็นของเหลวสีขาวถึงขาวปนเหลืองขุ่นข้น อยู่ในท่อน้ำยางซึ่งเรียงตัวกันอยู่ในเปลือกของต้นยาง ในน้ำยางจะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็น "เนื้อยาง" และส่วนที่ "ไม่ใช่ยาง" ตามปกติในน้ำยางจะมีเนื้อยางแห้งประมาณ 25-45 เปอร์เซ็นต์  
 


ตัวอย่างการทำดอกไม้จากใบยางพารา

หลักการทำดอกไม้ประดิษฐ์มี  3  ขั้นตอน
               1. การแปรรูปใบยาง
               2. การฟอกสีใบยาง
               3. การเข้ารูปเป็นดอกไม้ชนิดต่างๆ

การแปรรูปใบยาง มีขั้นตอนดังนี้
               การคัดเลือกใบยาง
               1. ใบยางต้องสด
               2. ใบยางไม่อ่อนหรือแก่เกินไป (สังเกตดูจากฉัตรใบยอดลงมา ประมาณฉัตรที่ 3)
               3. ใบยางต้องไม่เป็นโรคใบจุดต่างๆ หรือมีรอยตำหนิ

การเตรียมใบยางมี 2 วิธี
               1. วิธีการต้มใบยาง
                   1.1 ใช้ถังน้ำมันขนาดความจุ 200 ลิตร ใส่น้ำประมาณ 2 / 3 ถัง
                   1.2 นำสบู่ซัลไลท์ 30 ก้อนใส่ลงไปต้มพร้อมใบยางสด ประมาณ 3,000 ใบ
                   1.3 ต้มให้เดือด 3 ชั่วโมง จนเนื้อเยื่อใบยางเปื่อย
                   1.4 ใช้แปรง แปรงใบยางที่ต้มเปื่อยแล้ว  จนเนื้อเยื่อหลุดหมดเหลือแต่โครงร่างใบ  ล้างน้ำให้สะอาด  นำไปผึ่งให้
                         แห้ง โครงใบยางจะมีสีน้ำตาลอ่อน

               2. วิธีการหมักใบยาง
                   2.1 เก็บใบยางสดตามจำนวนที่ต้องการ มาหมักในน้ำสะอาด ใบยางที่หมักต้องไม่แน่นจนเกินไป
                   2.2 ใช้เวลาหมักประมาณ 1 - 2 เดือน เนื้อเยื่อใบก็จะเปื่อยเหมือนวิธีการต้ม
                   2.3 ใช้แปรง แปรงใบยางจนเนื้อเยื่อหลุดหมด เหลือแต่โครงร่างใบ  ล้างน้ำให้สะอาด นำไปผึ่งให้แห้ง และฟอกสี
                         ตามต้องการ

การฟอกสีใบยาง
               1. ใช้ใบยางที่เตรียมไว้จากวิธีที่  1 หรือ วิธีที่ 2 จำนวน 300 - 450 ใบ (แล้วแต่ขนาดของใบ ถ้าเป็นใบขนาดเล็กก็เพิ่มจำนวนใบขึ้นอีก)
               2. ใช้น้ำยาฟอกขาวไฮเตอร์ 1.5 ลิตร ผสมน้ำสะอาด จำนวน 9 ลิตร
               3. แช่ใบยาง (ข้อ 1) โดยใส่ให้กระจายไม่ซ้อนทับกันจนแน่นเกินไป นาน 3 - 4 ชั่วโมง สังเกตดูว่าเส้นใบยางขาวดีแล้ว นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด 3 - 4 ครั้ง
               4. นำใบยางที่ได้จากข้อที่ 3 ไปผึ่งให้แห้ง
               5. นำใบยางที่แห้งดีแล้วไปประดิษฐ์เป็นดอกไม้ชนิดต่างๆ ได้ตามต้องการ


ใบยางพาราสามารถนำมา ประดิษฐ์เป็นดอกไม้ได้หลายชนิด

เช่น ดอกกุหลาบ, ดอกสายรุ้ง, ดอกบัวเผื่อน, ดอกชะบา, ดอกฟีเซีย, ดอกตองตึง, ดอกสุพรรณณิการ์,ดอกเยอบีร่า, ดอกแคทลียา,   ดอกทานตะวัน,   ดอกบัวหลวง,  ดอกกาหลง,   ดอกควีนสิริกิตย์ ,  ดอกราชพฤกษ์ ,  ดอกลิลลี่,   ดอกพันทิวา, ดอกบัวตอง,  ดอกเฟื่องฟ้าดอกแกลดิโอลัส ,  ดอกยิปโซ ,  ดอกหน้าวัว , ดอกเอื้อง,  กิ๊บติดผม

                              

                                                               
    


ผีเสื้อจากใบยางพารา

ขั้นตอนต่างๆ ของการประดิษฐ์ แบ่งได้ดังนี้

การคัดเลือกใบยางพารา

     คัดเลือกใบยางพาราไม่อ่อนหรือแก่จัดอายุใบประมาณ 2-3 เดือน หรือเรียกว่าใบเพศลาก ใบไม่มีตำหนิหรือเป็นโรค ใช้ได้ทุกขนาดตั้งแต่ 2" - 10" การหมักใบยางจะนำใบยางมาหมักในบ่อซีเมนต์ ใส่น้ำให้ท่วมใบยาง ใช้ถุงพลาสติกปิดปากบ่อ (กันยุงลงไปวางไข่) หมักไว้นานสองเดือน




การฟอก

นำใบยางที่หมักไว้แล้วนำมาล้างส่วนที่เป็นสีเขียวออกให้หมด ถ้าไม่หมดให้ใช้แปรงด้ามเล็กๆขนอ่อน แปรงออกให้หมด นำมาล้างให้สะอาดแล้วนำมาฟอกให้ขาวโดยใช้คลอรีนอัตราส่วน คลอรีน 1 ส่วนต่อน้ำ 10 ส่วน นำใบยางที่ล้างสะอาดแล้วลงไปแช่ในคลอรีนให้น้ำท่วนใบยาง (กดให้จมก็ได้) นาน 30 นาที  แล้วผึ่งลมให้แห้ง(อย่าตากแดดไม่เช่นนั้นใบยางจะกรอบแตก) แล้วนำมาคัดแยดขนาดเพื่อจัดเก็บต่อไป

ขั้นตอนการทำตัวและส่วนประกอบของผีเสื้อ
    

การทำปีกผีเสื้อ

โดยปกติแล้วผีเสื้อใบยางจะทำโดยการนำแบบของจริงทั้งขนาด และลวดลายตามธรรมชาติจริงๆ  ซึ่งขั้นตอนนี้ก็ทำโดยการทาบแบบจากกระดาษแข็งที่จัดเตรียมไว้  มีทั้งหมดด้วยกัน 8 ขนาด  แล้วตัดตามแบบ นำไปย้อมสี แล้วทำลวดลายด้วยการพ่นสีสเปรย์  จากนั้นก็ทำการแต่งด้วยฝีมืออีกหนึ่งรอบเพื่องานที่ได้คุณภาพ  ซึ่งขั้นตอนการทำปีกผีเสื้อนี้  ผีเสื้อหนึ่งตัวจะต้องใช้ยางพาราประมาณ 2 ใบขึ้นไปซึ่งแล้วแต่ขนาด

การทำตัวผีเสื้อ

เศษใบยางที่เหลือจากการทำปีกของผีเสื้อนั้น  ไม่ได้เอาไปทิ้งให้เสียประโยชน์ แต่จะเอาไปคลึงให้เป็นรูปตัวผีเสื้อยาวรีตามขนาดของผีเสื้อ แล้วห่อด้วยใบยางทับอีกหนึ่งชั้น มัดด้วยสีตามแบบของปีกเป็นปล้องๆ  แบ่งเป็นส่วนหัว  ส่วนลำตัว  ส่วนหาง  แล้วนำไปย้อมสี ติดหนวดและจมูกด้วยป่านศรนารายณ์ย้อมสีดำ ติดตาโดยใช้เกสรสีดำเม็ดใหญ่ผ่าซีกติดตาทั้งสองข้าง

การประกอบตัวผีเสื้อ

ขั้นตอนการประกอบตัวผีเสื้อเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ เพราะว่าเป็นขั้นตอนที่ต้องเก็บทุกรายละเอียด  และความเรียบร้อยของชิ้นงานด้วย  โดยการนำส่วนประกอบทุกๆส่วนมาประกอบด้วยการใช้ปีนยิงกาว เชื่อมระหว่างปีกกับลำตัว  รอให้แห้งแล้วติดกาวกับฐานเพื่อให้ผีเสื้อตั้งได้  จากนั้นก็ทากากเพชรให้ทั่วปีกและลำตัว จากนั้นจึงบรรจุกล่องเตรียมจำหน่ายต่อไป และทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนการทำผีเสื้อจากใบยาง หรือว่า "ผีเสื้อสุราษฎร์ธานี" หากท่านใดสนใจรายละเอียดมากกว่านี้หรือต้องการเข้าชมการสาธิตก็สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรควนสุบรรณได้โดยตรง

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เสร็จแล้ว


 

     
                                                                   บทที่  3

วัสดุ  อุปกรณ์และวิธีการศึกษา

การทำช่อบูเก้

วัสดุและอุปกรณ์

                1.ใบยางที่ทำสำเร็จแล้ว

                2.ก้านของช่อดอกไม้

                3.เชือกสำหรับมัด

                4.กระดาษห่อ

                5.โบว์

                6.เกสรดอกไม้

                7.ดอกไม้ปลอม

                8.กระดาษสา

(1). การทำใบยาง

               การคัดเลือกใบยาง
               1. ใบยางต้องสด
               2. ใบยางไม่อ่อนหรือแก่เกินไป (สังเกตดูจากฉัตรใบยอดลงมา ประมาณฉัตรที่ 3)
               3. ใบยางต้องไม่เป็นโรคใบจุดต่างๆ หรือมีรอยตำหนิ

การเตรียมใบยางมี 2 วิธี
               1. วิธีการต้มใบยาง
                   1.1 ใช้ถังน้ำมันขนาดความจุ 200 ลิตร ใส่น้ำประมาณ 2 / 3 ถัง
                   1.2 นำสบู่ซัลไลท์ 30 ก้อนใส่ลงไปต้มพร้อมใบยางสด ประมาณ 3,000 ใบ
                   1.3 ต้มให้เดือด 3 ชั่วโมง จนเนื้อเยื่อใบยางเปื่อย
                   1.4 ใช้แปรง แปรงใบยางที่ต้มเปื่อยแล้ว  จนเนื้อเยื่อหลุดหมดเหลือแต่โครงร่างใบ  ล้างน้ำให้สะอาด  นำไปผึ่งให้
                         แห้ง โครงใบยางจะมีสีน้ำตาลอ่อน

               2. วิธีการหมักใบยาง
                   2.1 เก็บใบยางสดตามจำนวนที่ต้องการ มาหมักในน้ำสะอาด ใบยางที่หมักต้องไม่แน่นจนเกินไป
                   2.2 ใช้เวลาหมักประมาณ 1 - 2 เดือน เนื้อเยื่อใบก็จะเปื่อยเหมือนวิธีการต้ม
                   2.3 ใช้แปรง แปรงใบยางจนเนื้อเยื่อหลุดหมด เหลือแต่โครงร่างใบ  ล้างน้ำให้สะอาด นำไปผึ่งให้แห้ง และฟอกสี
                         ตามต้องการ

การฟอกสีใบยาง
               1. ใช้ใบยางที่เตรียมไว้จากวิธีที่  1 หรือ วิธีที่ 2 จำนวน 300 - 450 ใบ (แล้วแต่ขนาดของใบ ถ้าเป็นใบขนาดเล็กก็เพิ่มจำนวนใบขึ้นอีก)
               2. ใช้น้ำยาฟอกขาวไฮเตอร์ 1.5 ลิตร ผสมน้ำสะอาด จำนวน 9 ลิตร
               3. แช่ใบยาง (ข้อ 1) โดยใส่ให้กระจายไม่ซ้อนทับกันจนแน่นเกินไป นาน 3 - 4 ชั่วโมง สังเกตดูว่าเส้นใบยางขาวดีแล้ว นำมาล้างด้วยน้ำสะอาด 3 - 4 ครั้ง
               4. นำใบยางที่ได้จากข้อที่ 3 ไปผึ่งให้แห้ง
               5. นำใบยางที่แห้งดีแล้วไปประดิษฐ์เป็นดอกไม้ชนิดต่างๆ ได้ตามต้องการ



(2).การผลิตเป็นช่อบูเก้

                วิธีการทำให้เป็นดอกไม้

ดอกใหญ่ : 1.นำใบยางมาพับครึ่ง  5  กลีบ

                2.นำมารวมกันแล้วมัดให้ติดกับก้านแล้วเอาเกสรติดกับดอกไม้

                3.ทำอย่างข้อ  2  เรื่อยๆให้ได้  7  ดอก

ดอกเล็ก :  4.นำใบยางมาพับแล้วก็มัดรวมเหมือนให้เหมือนดอกใหญ่

 วิธีการนำมารวมกันให้เป็นบูเก้

                5.เมื่อได้ดอกไม้ที่ต้องการเอามาจัดวางโดยเสิมดอกไม้ปลอมบ้าง

                6.นำกระดาษมาห่อช่อดอกไม้ ตัดแต่งให้สวยงามตามต้องการ

                7.นำโบว์มาตัดแล้วผูกให้สวยงาม

                8.เราก็จะได้ช่อบูเก้ดอกไม้อย่างสวยงามและตามที่เราต้องการ

               

                                                                                        บทที่  4

ผลการศึกษาและอภิปรายการศึกษา

จากการทำโครงงานเรื่อง  ผลิตภัณฑ์จากใบยางพารา  พบว่าใบยางพาราสามารถที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้อย่างมากมาย  ช่วยสร้างความสวยงาม  สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ  และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานชิ้นนี้ไปเผยแพร่สู่แหล่งชุมชน  เพื่อช่วยสร้างอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน  สร้างรายได้ที่ได้กำไรดี  ต้นทุนในการผลิตน้อย  ที่สามารถนำใบยางที่หล่นทิ้งอยู่ตามในสวนยางข้างบ้าน  เมื่อปล่อยให้แห้งทิ้งไปก็ไร้ประโยชน์  นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้เลย  ทำให้ใบยางที่ปล่อยทิ้งโดยไร้ประโยชน์สร้างประโยชน์ให้แก่ชาวสวนยาง  และถ้าชาวบ้านของในแต่ละท้องถิ่นรู้จักที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  ใบยางก็จะสร้างเงินสร้างรายได้ให้กับเราอย่างมากมายเลยทีเดียว

                                                                  บทที่  5

สรุปผลการศึกษา

สรุปผล

                จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง  ผลิตภัณฑ์จากใบยาง  พบว่า  เมื่อนำใบยางมาสร้างสรรค์ออกแบบเป็น  ผีเสื้อ  ดอกไม้  ช่อบูเก้  ช่อดอกไม้  ฯลฯ  แล้วนำไปตกแต่งบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็พบว่าช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้และยังทำให้ผลิตภัณฑ์ดูสวยงามเป็นที่น่าสนใจ  และถ้าจะประกอบเป็นอาชีพก็สามารถทำได้เพราะประดิษฐ์ได้ง่ายและสร้างรายได้ให้อย่างมากมาย


ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน

1.ช่วยสร้างอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

2.ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูน่าสนใจและสวยงามยิ่งขึ้น

3.สร้างอาชีพใหม่เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนที่ประกอบอาชีพสุจริต


ข้อเสนอแนะ

1.ควรออกแบบให้สร้างสรรค์ให้เยอะกว่านี้

2.ควรปรับปรุงให้ดูสวยงามกว่าเดิมเพื่อสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้น

3.ควรประดิษฐ์ให้มีความแข็งแรงขึ้นเพื่อความทนทานในการใช้งาน